• เชิญชวนส่งบทความวิจัย


สัมมนาวิชาการด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 5 (Asian CHI Symposium)เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ หรือ CHI เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยล่าสุดด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (HCI) และประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) จากประเทศในเอเชีย และผลงานวิจัยที่ผนวกปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมของเอเชียในการออกแบบและการนำไปใช้งาน สัมมนาวิชาการนี้ส่งเสริมปัญหาและวิธีการเฉพาะของภูมิภาคให้เป็นที่รู้จักในชุมชนระดับโลก

เราขอเชิญชวนนักวิจัยและนักปฏิบัติวิชาชีพทุกระดับจากชุมชนวิชาชีพและชุมชนวิชาการของเอเชีย เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยมือใหม่ นิสิต/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และแม้กระทั่งนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่สนใจงานวิจัยด้าน HCI เข้ามีส่วนร่วมในสัมมนาวิชาการนี้ งานนี้ยังตั้งใจจะสร้างเครือข่ายของนักวิจัยรุ่นใหม่ ตั้งแต่นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาเอก บัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา และนักวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา

กำหนดการสำคัญ

เวลาของการส่งบทความวันสุดท้ายในทุกกำหนดการ คือ เวลา 23:59 น. ของประเทศญี่ปุ่น (GMT + 09).

รอบ 1

วันสุดท้ายของการส่งบทความวิจัย

28 มกราคม 2564

การแจ้งปฏิเสธบทความวิจัยจากการพิจารณาเบื้องต้น

4 กุมภาพันธ์ 2564

>การแจ้งผลการพิจารณาบทความวิจัย

9 มีนาคม 2564
รอบ 2

วันสุดท้ายของการส่งบทความวิจัย

25 กุมภาพันธ์ 2564

การแจ้งปฏิเสธบทความวิจัยจากการพิจารณาเบื้องต้น

4 มีนาคม 2564

การแจ้งผลการตอบรับ

9 เมษายน 2564

วันสุดท้ายของการส่งบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ รอบ 1 และ รอบ 2

20 เมษายน 2564

สัมมนาวิชาการด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย 2021

7-8 พฤษภาคม 2564

หัวข้อของบทความวิจัย

เราเชิญชวนส่งบทความวิจัยเกี่ยวข้องกับแนววิจัย หรือที่มีผลงานเกี่ยวกับสาขาวิชาปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ด้านล่างนี้ หรือนอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้ ดังนี้

  • ระบบโต้ตอบเชิงปฏิสัมพันธ์ และการออกแบบและเทคนิคการโต้ตอบเชิงปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ หรือแนวทางใหม่
  • ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบใหม่ ที่เอื้อต่อปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่
  • ระบบนำเข้าและแสดงผล ที่สนับสนุนกิจกรรมและการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์
  • การศึกษาเพื่อเข้าใจศักยภาพของมนุษย์เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์
  • ความรู้ แนวปฏิบัติ วิธีการ องค์ประกอบ และเครื่องมือ ที่ทำให้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์มากขึ้น ใช้งานได้มากขึ้น และเป็นที่ต้องการมากขึ้น
  • ระบบและบริการที่จัดการประเด็นปัญหาที่โดดเด่นในเอเชีย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนา หรือการจัดการปัญหาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเอเชีย
  • การประยุกต์ใช้หรือแอปพลิเคชันด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้ การศึกษา และครอบครัวในเอเชีย
  • ปฏิสัมพันธ์เชิงสนุกสนาน ประสบการณ์ของผู้เล่น และเกม
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ความสุขสมบูรณ์ การแพทย์
  • การประยุกต์ใช้หรือแอปพลิเคชันด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรม
  • การประยุกต์ใช้ในประเด็นหรือเรื่องเฉพาะทางที่สนใจ ที่ส่งผลกระทบสำคัญในชุมชน เช่น ชุมชนชายขอบ กลุ่มผู้มีความบกพร่อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มิใช่มนุษย์ การกุศล กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง เป็นต้น

ประเภทของบทความวิจัย

ในปีนี้ เรายินดีต้อนรับบทความวิจัย 2 ประเภท

  • บทความวิจัยที่นำเสนอผลงานต้นฉบับ
  • บทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ CHI 2021

1. บทความวิจัยที่นำเสนอผลงานต้นฉบับ

ประเภทของบทความวิจัยนี้นำเสนอผลงานใหม่ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ระบบที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว หรือการศึกษาวิจัยที่มีผลวิจัยสมบูรณ์
  • ผลการศึกษาเบื้องต้นจากขั้นตอนการออกแบบ วิศวกรรม หรือการศึกษาเชิงประจักษ์ หรือเป็นผลงานที่ต่อยอดจากงานวิจัยที่เคยตีพิมพ์ หรือเป็นการอภิปรายมุมมองใหม่หรือมุมมองทางเลือกอื่น ของงานวิจัยที่เคยตีพิมพ์

สำหรับการส่งบทความวิจัยที่นำเสนอผลงานต้นฉบับ ผู้เขียนสามารถเลือกส่งบทความในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้

  • บทความวิจัย (มีความยาวระหว่าง 5-10 หน้า นับรวมส่วนเอกสารอ้างอิงและกิตติกรรมประกาศ)
  • โปสเตอร์ หรือผลงานตัวอย่าง (มีความยาวไม่เกิน 4 หน้า นับรวมส่วนเอกสารอ้างอิงและกิตติกรรมประกาศ)

บทความวิจัยต้นฉบับทุกชิ้นที่ได้รับการตอบรับ จะตีพิมพ์ใน ACM Digital Library สำหรับการส่งแบบโปสเตอร์หรือผลงานตัวอย่าง ผู้เขียนสามารถแสดงความจำนงไม่ตีพิมพ์ผลงานใน ACM Digital Library ได้

บทความวิจัยที่ส่งมาที่สัมมนาวิชาการทุกชิ้นจะผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่เปิดเผยชื่อ บทความวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจะตีพิมพ์ใน ACM Digital Library (ISBN: 978-1-4503-8203-8).

อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยต้นฉบับที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอ ทั้งในรูปแบบบทความวิจัย โปสเตอร์หรือผลงานตัวอย่าง จะนำเสนอหรือสาธิตในช่วงต่างๆ ของสัมมนาวิชาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย

2. บทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ CHI 2021

ประเภทของบทความวิจัยนี้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ CHI 2021 ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง (ตามที่ได้ระบุไว้ในหน้าเว็บนี้)

ประเภทของบทความวิจัยนี้สามารถส่งเข้าร่วมสัมมนาวิชาการด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมุนษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชียได้ ตราบเท่าที่ผลงานวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมายของสัมมนาวิชาการและมีศักยภาพที่ช่วยให้งานวิจัยคุณภาพสูงที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับการประยุกต์ใช้ การทำซ้ำ การสืบสานหรือการทำสืบเนื่องต่อไป การพัฒนาต่อยอด และความร่วมมือ

ผู้เขียนควรส่งบทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับ ฉบับสมบูรณ์ (camera-ready) มาที่สัมมนาวิชาการนี้ ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามรูปแบบบทความวิจัยของสัมมนาวิชาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย

ชื่อบทความและชื่อผู้เขียนของบทความวิจัยประเภทนี้จะถูกกล่าวถึงในเอกสารสัมมนาวิชาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชียใน ACM Digital Library โดยมีรายละเอียดเชื่อมโยงไปยังรายการของบทความวิจัยในเอกสารประชุมวิชาการ CHI 2021 หรือเอกสารรวบรวมบทคัดย่อขนาดยาว (Extended Abstract)

บทความวิจัยประเภทนี้ ที่ได้รับการตอบรับทุกชิ้น จะนำเสนอในสัมมนาวิชาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย

การเตรียมบทความวิจัย

ผู้เขียนต้องส่งผลงานวิจัยต้นฉบับ ในรูปแบบบทความวิจัย (ระหว่าง 5-10 หน้า) หรือรูปแบบโปสเตอร์หรือผลงานตัวอย่าง (ความยาวไม่เกิน 4 หน้า) จำนวนหน้านับรวมส่วนเอกสารอ้างอิงและกิตติกรรมประกาศ ภาษาที่ใช้ในการเขียนผลงานวิจัยต้องเป็นภาษาอังกฤษ

บทความวิจัยต้องจัดรูปแบบตามที่กำหนดใน ACM Master Article Template แบบ 1 คอลัมน์ ทั้งรูปแบบ Word หรือ LaTeX กรุณาอ่านและทำความเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการจัดเอกสารนี้ สำหรับการส่งบทความวิจัยเพื่อพิจารณาหรือตีพิมพ์ในครั้งแรกๆ หากบทความวิจัยไม่ได้จัดรูปแบบตามที่กำหนดภายในวันสุดท้ายของการส่งบทความวิจัย จะส่งผลให้บทความวิจัยได้รับการปฏิเสธจากการพิจารณาเบื้องต้น หรือยกเลิกการตีพิมพ์ใน ACM Digital Library

ทั้งบทความวิจัยต้นฉบับ และโปสเตอร์หรือผลงานตัวอย่าง ควรอ้างถึงผลงานวิจัยหรือทรัพยากรสำคัญ ที่สามารถเข้าถึงได้แบบสาธารณะ ผู้เขียนอาจส่งร่างโปสเตอร์หรือวิดีโอตัวอย่างเป็นเอกสารประกอบ การส่งบทความวิจัยทั้ง 2 ประเภทไม่ควรปกปิดชื่อของผู้เขียนและต้องนำเข้าระบบผ่าน HotCRP

กระบวนการคัดเลือก

สำหรับบทความวิจัยที่เป็นผลงานต้นฉบับ บทความวิจัยแต่ละชิ้นจะผ่านกระบวนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และจะได้รับผลการพิจารณาแบบปกปิดชื่อ จำนวน 2 ชิ้น ตามเกณฑ์ความใหม่หรือความไม่ซ้ำแบบใคร (originality) ความสำคัญ (significance) และความเที่ยงตรงหรือความถูกต้อง (validity)

สำหรับบทความวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในงานประชุมวิชาการ CHI 2021 การพิจารณาตอบรับให้นำเสนอบทความในส้มมนาวิชาการจะพิจารณาจากจำนวนบทความวิจัยที่นำเสนอผลงานต้นฉบับ ที่ได้รับการตอบรับ ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ และความหลากหลายของหัวข้อวิจัย ผลการพิจารณาจะส่งให้กับผู้เขียนโดยไม่มีข้อคิดเห็น หรือมีเพียงข้อเสนอแนะในภาพรวม

สำหรับผู้เขียนของผลงานต้นฉบับที่ได้รับการตอบรับแบบมีเงื่อนไข และต้องปรับปรุงเนื้อหาส่วนใหญ่ของบทความวิจัย เราจะสนับสนุนกระบวนการชี้แนะการเขียนบทความวิจัย ที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจะทำงานกับผู้เขียนอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับบทความ ในสัมมนาวิชาการและหลังการจัดงาน ผลงานวิจัยที่ผ่านกระบวนการชี้แนะการเขียนบทความวิจัยได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้รับความเห็นชอบจากที่ปรึกษาภายในกำหนดวันสุดท้ายของการส่งบทความ จะถูกเพิ่มใน ACM Digital Library บทความวิจัยที่ต้องปรับปรุงเนื้อหาไม่มากนัก หรือไม่ต้องปรับปรุงใดๆ จะถูกเพิ่มในเอกสารสัมมนาวิชาการ ที่ ACM Digital Library หลังจากกำหนดวันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (camera-ready) และการยืนยันผลจากประธานคณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัย

การมีส่วนร่วมในสัมมนาวิชาการ

ผู้เขียนของผลงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับอย่างน้อย 1 คนต้องเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย กำหนดวันสุดท้ายของการลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม และเงื่อนไขของการตอบรับให้นำเสนอผลงาน (เช่น ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการต้องลงทะเบียนในงานประชุมวิชาการ CHI จำนวน 1 วันหรือมากกว่า หรือไม่) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ประมาณก่อนเดือนมีนาคม 2564

ก่อนวันจัดงานสัมมนาวิชาการ ผลงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับทุกชิ้นต้องเตรียมการนำเสนอในรูปแบบวิดีโอ ความยาว 5 นาที ที่สรุปรายละเอียดของผลงานวิจัย และส่งวิดีโอไปที่ระบบ HotCRP อย่างน้อย 5 วันก่อนวันจัดงาน วิดีโอเหล่านี้จะเปิดให้ชมระหว่างสัมมนาวิชาการ ตามด้วยช่วงถาม-ตอบ เป็นเวลา 3 นาที ผู้เขียนอย่างน้อย 1 คนควรเข้าร่วมสัมมนาวิชาการแบบออนไลน์และตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมงาน

ผู้เขียนของโปสเตอร์และผลงานตัวอย่างที่ได้รับการตอบรับ ต้องส่งไฟล์โปสเตอร์สมบูรณ์ (PDF) และไฟล์วิดีโอแสดงผลงานตัวอย่าง ความยาว 5 นาที อย่างน้อย 5 วันก่อนวันเริ่มงานสัมมนาวิชาการ วิดีโอเหล่านี้จะเปิดให้รับชมในช่วงการนำเสนอโปสเตอร์และผลงานตัวอย่าง

ติดต่อเรา

general-chair-name

Josh (Adi B. Tedjasaputra)

Customer Experience Insight Pty Ltd

josh@cxinsight.com.au

cfp-contact

Masitah Ghazali

Universiti Teknologi Malaysia

masitah@utm.my

cfp-contact

Sayan Sarcar

University of Tsukuba, Japan

mailtosayan@gmail.com